Impact Case

Impact Case 1
โครงการ : การเฝ้าระวังและเตือนภัยปัญหาหมอกควันโดยเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศระบบเซ็นเซอร์ DustBoy ในประเทศไทย
เป้าหมายที่ 11: ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน (11.6) การจัดการมลพิษทางอากาศและของเสีย
ประเภทโครงการ: อื่นๆ
ที่มาและวัตถุประสงค์: ปัญหามลพิษทางอากาศและฝุ่นควันจัดเป็นปัญหาสําคัญลําดับต้น ๆ ในหลายพื้นที่ของประเทศไทยโดยสาเหตุสําคัญมาจากการเผาชีวมวล โดยเฉพาะการเผาเพื่อการเกษตรทั้งภายในประเทศและหมอกควันจากประเทศเพื่อนบาน รวมไปถึงฝุนเขมาจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหลานี้ล้วนก่อใหเกิดมลพิษทางอากาศและปัญหาสุขภาพของประชากรในพื้นที่ของประเทศไทย ซึ่งการตรวจวัดขอมูลในพื้นที่เปนสิ่งที่สําคัญและจําเป็นต่อการวางแผนจัดการให้เหมาะสมและทันท่วงที ดังนั้นโครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อตรวจวัดและติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศของปริมาณฝุ่นละออง PM10 และPM2.5 ด้วยเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบพกพา DustBoy (2) เพื่อสื่อสารข้อมูลและเตือนภัยถึงสถานการณ์ปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นให้แก่ประชาชน และ (3) เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลและการเชื่อมโยงข้อมูลด้านปัญหาหมอกควันของประเทศไทย
ผลสำเร็จและความคุ้มค่า: จากการดำเนินโครงการสามารถประเมินได้จากการต่อยอดใช้ประโยชน์ของ ข้อมูลคุณภาพอากาศ เพื่อเผยแพร่ทางด้านวิชาการ ด้านสังคม หรือเพื่อประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อันนำไปสูการรับรูู้ถึงสถานการณ์ ความรุนแรง และแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะวิกฤตฝุ่นควัน โดยมีรายละเอียดผลสำเร็จ และความคุ้มค่าจากการใชประโยชน์ของข้อมูลคุณภาพอากาศจากโครงการดังนี้
- มีมูลค่าการลงทุน 14,625,993.86 บาท เกิดผลสัมฤทธิ์ 62,679,442.00 บาท และมีผล SROI 4.23 เท่า
- มิติทางเศรษฐกิจ 3,387,159 บาท โดยหน่วยงานที่ได้รับจุดติดตั้งเครื่องตรวจวัด DustBoy มีค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลที่ลดลง คิดเป็นมูลค่า 2, 208,000 บาท
- มิติทางสังคม 52,653,801 บาท โดยประชาชน/ชุมชนที่ได้ใช้งานเว็ปไซต์ CCDC และแอปพลิเคชันจากโครงการที่เกี่ยวข้อง เกิดความตระหนัก/รับรู้เรื่องปัญหาฝุ่นควัน คิดเป็นมูลค่า 17,823,431 บาท
- มิติทางสิ่งแวดล้อม 6,638,482 เกิดหน่วยงานที่ได้รับจุดติดตั้งเครื่องตรวจวัด DustBoy กว่า 920 จุดทั่วประเทศคิดเป็นมูลค่า 5,070,628 บาท
- การตรวจวัดและติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศของปริมาณฝุ่นละออง PM10 และ PM2.5 ได้ขยายพื้นที่ติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ DustBoy จำนวน 200 จุด ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ประสบปญหาฝุ่นควันของประเทศไทย ซึ่งจากการดำเนินโครงการฯ ตั้งแต่ระยะ 1 จนถึงปจจุบัน ไดมีเครือขายติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ DusBoy มากกวา 420 จุด
- การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและการเชื่อมโยงข้อมูลด้านปัญหาฝุ่นควันของประเทศไทย โดยเก็บรวบรวมไว้ภายในศูนยจัดเก็บข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ (Data Center) โดยสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITSC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม ซึ่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลแบบ API (Application Programming Interface) ด้วยการกำหนดพารามิเตอร์แทนความหมายของชุดข้อมูล ทำให้ง่ายต่อการจัดเก็บและเรียกใช้ฐานข้อมูล จึงทำให้ง่ายต่อการเชื่อมโยงค่าการตรวจวัดฝุนจากเครื่อง DustBoy นอกจากนี้ยังเปิด Open AI เพื่อนำขอมูลไปบูรณาการเพื่อเชื่อมโยงและแก้ไขปัญหาฝุ่นควันได้ในอนาคต
- การสื่อสารข้อมูลและเตือนภัยถึงสถานการณ์ปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นให้แก่ประชาชน โดยถูกดึงออกมาใช้ในรูปแบบ API เพื่อรายงานผลและประมวลผลผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังคุณภาพอากาศ และรายงานบนเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ CCDC (Climate Change Data Center) นอกจากนี้ขอมูลจากเครื่องวัดฝุน DustBoy ยังถูกเชื่อมโยง เพื่อบูรณาการต่อยอดไปยังระบบการรายงานผลอื่น ๆ เช่น ระบบ Line แจ้งเตือน สถานการณ์ฝุ่นควันและแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขสำหรับทีมปฏิบัติการป้องกันฝุ่นระดับตำบลของเขตสุขภาพที่ 1, ระบบ Line แชทบอท Smoke Alert รายงานค่าฝุ่นและคำแนะนำเพื่อดูแลสุขภาพจากบุคลากรทางการแพทย์ เป็นต้น
Impact Case 2
โครงการ : โครงการโปรแกรมใกล้บ้านสมานใจ: การดูแลเชิงรุกในชุมชนสำหรับผู้เป็นโรคติดสุรา
เป้าหมายที่ 3: สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกวัย
ประเภทโครงการ: การพัฒนาสังคม (Social)
ที่มาและวัตถุประสงค์: โรคติดสุราเป็นโรคที่มีโอกาสกลับเป็นซ้ำสูงมาก การได้รับการดูแลต่อเนื่องเชิงรุกหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลโดยบุคลากรทีมสุขภาพในชุมชน ที่ผู้ที่เป็นโรคติดสุราอาศัยอยู่เป็นวิธีการที่จะช่วยประคับประคองให้ผู้ที่เป็นโรคติดสุราสามารถจัดการกับพฤติกรรมการดื่มสุราและอยู่ในชุมชนได้อย่างมีคุณภาพชีวิต ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้ แบ่งเป็นระยะที่ 1 ปี 2563 เป็นการเปิดตัวของ PHASE 1 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพและสร้างความ ตระหนักในระดับมหาวิทยาลัย คณะ และระดับบุคคล โครงการนี้ได้ดําเนินการทีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยรวมไปถึงคณะ สถาบัน และวิทยาลัยภายใน โดยคาดคะเนว่ามีผู้เข้าร่วมประมาณ 12,246 คน และระยะที่ 2 ในปีที่ 2 (2564) วัตถุประสงค์ของโครงการคือการดําเนินการด้านสุขภาพ การฝากอบรมใหห้ความรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจและสร้างความตระหนัก เพื่อส่งเสริมสุขภาพของพนักงาน และเพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกิดจากการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยผ่านการเรียนรู้และแบ่งปัน ดําเนินโครงการ Healthy University ร่วมกับพันธมิตร AUN-HPN และอื่น ๆ
ผลสำเร็จและความคุ้มค่า: จากการดำเนินโครงการสามารถประเมินได้จากการต่อยอดใช้ประโยชน์ โดยมีรายละเอียดผลสำเร็จ และความคุ้มค่า ดังนี้
มีมูลค่าการลงทุน 5,000,000 บาท เกิดผลสัมฤทธิ์ 13,987,504.00 และมีผล SROI 2.8 เท่า
- มิติทางเศรษฐกิจ 6,641,456 บาท โดยการศึกษาพบว่า พยาบาลวิชาชีพและบุคลากรสุขภาพได้รับนวัตกรรม/กระบวนการในการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนที่ต้องเผชิญภาวะทุกข์จากการติดสุราเรื้อรัง คิดเป็นมูลค่า 737,280 บาท ผู้ติดสุราเข้าร่วมอบรมโปรแกรมใกล้บ้าน สมานใจ ส่งผลให้เกิดความรู้ในด้านการดูแลตนเอง เพื่อลด เลิกสุรา คิดเป็นมูลค่า ผู้ติดสุราเข้าร่วมอบรมโปรแกรมใกล้บ้าน สมานใจ ส่งผลให้เกิดความรู้ในด้านการดูแลตนเอง เพื่อลด เลิกสุรา คิดเป็นมูลค่า 205,920 บาท ผู้ติดสุราสามารถลด/เลิกการดื่มสุรา ส่งผลให้ลดต้นทุนหรือความสูญเสียทางเศรษฐกิจที้เกิดจากการดื่มสุรา คิดเป็นมูลค่า 357,840 บาท ผู้ติดสุราสามารถลด/เลิกการดื่มสุรา ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 340,416 บาท
- มิติทางสังคม 13,987,504 บาท โดยการศึกษาพบว่า พยาบาลวิชาชีพและบุคลากรสุขภาพสามารถลดเวลาในการรักษาผู้ติดสุรา จากการรักษาซ้ำ ส่งผลให้สามารถรักษาผู้ป่วยคนอื่นได้เพิ่มมากขึ้น คิดเป็นมูลค่า 6,048,000 บาท ผู้ติดสุราสามารถลด/เลิกการดื่มสุรา ส่งผลให้มีความสัมพันธ์ครอบครัวที่ดีขึ้น คิดเป็นมูลค่า 864,000 บาท
Impact Case 3
โครงการ : สนับสนุนและพัฒนาเพื่อการขับเคลื่อนระบบเกษตรและพืชอาหารทางเลือกโดยชุมชนท้องถิ่น
เป้าหมายที่ 2: ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
ประเภทโครงการ: อาหารและการเกษตร (Food and Agriculture)
ที่มาและวัตถุประสงค์: ประเด็นปัญหาที่สำคัญของพื้นที่อำเภอนาน้อย จังหวัดน่านก่อนเริ่มโครงการ พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 70 เป็นพื้นที่ดอนและที่สูง มีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จำนวนมากซึ่งอำเภอนาน้อยจัดว่ามีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากเป็นอันดับที่ 3 ของจังหวัดน่าน เนื่องจากสภาพพื้นที่สูงอาศัยน้ำฝน เป็นพืชอายุสั้น (4 เดือน) มีปัจจัยการผลิตสนับสนุน และมีตลาดรองรับ ส่งผลให้เกษตรกรขยายพื้นที่การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากขึ้น มีการขยายพื้นที่ปลูกไปยังพื้นที่ป่า และยังส่งผลต่อปัญหาด้านการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชมาก ซึ่งมีการระบุถึงปัญหาผลกระทบจากการใช้สารเคมี นำไปสู่ปัญหาหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกร และปัญหาหมอกควันที่เกิดจากการเผาเศษซากเพื่อเตรียมพื้นที่ปลูกข้าวโพด อีกทั้งอำเภอนาน้อยมีพื้นที่ราบร้อยละ 30 ของพื้นที่มีการเปลี่ยนรูปแบบการผลิตและการบริโภคส่งผลต่อการนำเข้าพืชอาหารและโปรตีนจากพื้นที่อื่น เพิ่มการพึ่งพาอาหารจากภายนอกครัวเรือน ส่งผลต่อด้านความมั่นคงทางอาหาร ดังนั้นโครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อให้ชุมชนมีระบบข้อมูลตําบลแบบมีส่วนร่วม สําหรับการพัฒนาระบบเกษตรทางเลือกและพืชอาหารของชุมชนที่เหมาะสมกับภูมินิเวศ ที่นําสู่การลดการพึ่งพิงอาหารจากภายนอกทั้งในระดับตําบลและระดับอําเภอ (2) เพื่อให้เกิดระบบการจัดการเกษตรทางเลือกและพืชอาหารบนฐานทุนและศักยภาพ และความเหมาะสมกับภูมินิเวศของชุมชน ที่นําสู่การจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจชุมชนและความมั่นคงทางอาหารของชุมชน และ (3) เพื่อให้มีการขยายผลและขับเคลื่อนเชิงนโยบาย โดยงานวิชาการและรูปธรรมที่เกิดขึ้นจากปฏิบัติการชุมชน ในประเด็นการพัฒนาระบบเกษตรทางเลือกและพืชอาหารทั้งในระดับอําเภอและจังหวัด
ผลสำเร็จและความคุ้มค่า:
- มีมูลค่าการลงทุน 26,591,940 บาท เกิดผลสัมฤทธิ 48,823,553 มีผล SROI 2.5 เท่า
- มิติทางเศรษฐกิจ 47,927,440 บาท โดยการศึกษาพบว่า เกษตรกรและชุมชนเกิดรายได้จากการ พัฒนาตลาดชุมชน 7 แห่ง 45,990,000 บาท เกษตรกรเกิดรายได้จากการรวมกลุ่มเพื่อส่งออกผลผลิตสู่ตลาดไท 1,600,000 บาท และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเกิดรายได้จากการปลูกพืชทางเลือกทดแทนข้าวโพด 132,000 บาท
- มิติทางสังคม 500,233 บาท โดยการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายในการรักษาจากสารพิษของสารเคมีทางการเกษตรลดลง 287,673 บาท
- มิติทางสิ่งแวดล้อม 395,880 บาท โดยการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายในการใข้สารเคมีทางการเกษตรที่ลดลง 168,000 บาท
สรุปผลการดำเนินงานและผลกระทบโครงการฯ จากตัวชี้วัดของโครงการฯ รวมทั้งหมด 13 ตัวชี้วัด พบว่า ผลการดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จการประเมินผล ร้อยละ 100 รวมทั้งหมด 12 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 92.30 ส่วนตัวชี้วัดที่ 10 ในเรื่องของเกิดชุดความรู้หรือองค์ความรู้ที่ได้จากการสังเคราะห์บทเรียนและประสบการณ์ในการขับเคลื่อนงานการพัฒนาระบบพืชทางเลือกและพืชอาหารของชุมชน ที่หนุนเสริมการพัฒนางานของพื้นที่และการขยายผลแก่พื้นที่อื่น อย่างน้อย 8 ชุด/เรื่อง บรรลุผลสำเร็จการประเมินผล ร้อยละ 87.50 และได้นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับหน่วยงาน ตำบลและอำเภอ
Impact Case 4
โครงการ : กระบวนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอย่างมีส่วนร่วมโดยการบูรณาการภูมิปัญญาชาวบ้าน กรณีศึกษาครูและผู้นำชุมชนตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
เป้าหมายที่ 4: หลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ประเภทโครงการ: การพัฒนาสังคม (Social)
ที่มาและวัตถุประสงค์: ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมาประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยในกฎบัตรอาเซียนมาตราที่ 34 ระบุให้ใช้ภาษาทํางานของอาเซียนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งทําให้ความจําเป็นในการใช้ภาษาอังกฤษมีมากขึ้น นอกจากการใช้ภาษาประจําชาติหรือภาษาประจําท้องถิ่นของตนเอง หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2551 ระบุว่าภาษาต่างประเทศที่เป็นสาระการเรียนรู้พื้นฐานซึ่งกําหนดให้เรียนตลอดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ภาษาอังกฤษ โดยให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวและวัฒนธรรมอันหลากหลายของประชาคมโลก ดังนั้นโครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) การนําข้อมูลทางภูมิปัญญาท้องถิ่นที่คัดเลือกมาจากระยะที่ 1 นํามาทําเป็นเรื่องที่ประกอบไปด้วยคําศัพท์ กรอบทางไวยากรณ์ กระสวนในบทพูดสําคัญ องค์ประกอบทางรุปภาพ และกิจกรรมที่สําคัญที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน และจัดแบ่งบทเรียนออกเป็น 3 รูปแบบ คือ รูปแบบของประถมศึกษา รูปแบบมัธยมศึกษา และบทสนทนาสําหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ (2) พบปะผู้เกี่ยวข้องในชุมชน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่จัดทำในกิจกรรมแรก (3) จัดทำบทเรียนตัวอย่าง (4) จัดทำเอกสารและตำราสำหรับใช้อบรมครู (5) ทดลองการใช้สอนบทเรียนจริง และเตรียมความพร้อมสำหรับทำแบบเรียนในรูปแบบดิจิตัลในระยะถัดไป
ผลสำเร็จและความคุ้มค่า:
- มีมูลค่าการลงทุน 406,450 บาท เกิดผลสัมฤทธิ 621,050 มีผล SROI 1.53 เท่า
- มิติทางเศรษฐกิจ 611,834 บาท โดยการศึกษาพบว่า โรงเรียน 1 แห่ง ลดงบประมาณในการพัฒนาหลักสูตร 192,000 บาท โรงเรียน 1 แห่ง ลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาบุคลากร 323,840 บาท นักเรียนเกิดความรู้และสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ คิดเป็นมูลค่า 48,114 บาท และบุคลากรเกิดงค์ความรู้ในการพัฒนาภาษาอังกฤษ คิดเป็นมูลค่า 47,880 บาท
- องค์ความรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปแบบภาษาอังกฤษที่สามารถนำไปเผยแพร่ในเชิงการเรียนการสอนในสถานศึกษาและการเผยแพร่ในรูปแบบการบอกกล่าวเป็นภาษาอังกฤษแก่ชุมชนอื่น หรือผู้พูดภาษาอื่นได้
- ผลกระทบของโครงการต่อชุมชน การเผยแพร่ข้อมูลเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย เชียงใหม่ในเชิงการศึกษาและในเชิงการเผยแพร่เพื่อผลทางการการสงเสริมการศึกษาเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านกระบวนการการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม และการท่องเที่ยวซึ่งเป็นนผลที่อาจนับได้ในเชิงเศรษฐกิจในอนาคต
Impact Case 5
โครงการ : พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมล้านนาสร้างสรรค์ “Creative Lanna League”
เป้าหมายที่ 8: ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน
ประเภทโครงการ: อื่นๆ (Other)
ที่มาและวัตถุประสงค์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมล้านนาสร้างสรรค์ (Creative Lanna League) เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลและยุทธศาสตร์เชิงรุกของมหาวิทยาลัย (ยุทธศาสตร์ที่ 3 เชิงรุก : ล้านนาสร้างสรรค์) ดังนั้นโครงการนี้จึงมีวัตุถุประสงค์ดังนี้ (1). เพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการนวัตกรรมล้านนาสร้างสรรครุ่นใหม่ โดยเพิ่มทักษะทางด้านการพัฒนาแผนธุรกิจและการเข้าตลาดจริง (2) เพื่อบ่มเพาะธุรกิจที่มีการประยุกต์ใช้องความรู้และนวัตกรรมล้านนาสร้างสรรค์ สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ หรือบริการรูปแบบใหม่ ที่มีศักยภาพสามารถเป็นธุรกิจที่เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด (3) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการอย่างล้านนาสร้างสรรค์ และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในยุคปัจจุบัน (4) เพื่อเผยแพร่นวัตกรรมล้านนาสร้างสรรค์ให้เป็นที่รู้จักและสร้างโอกาสได้รับการตอยอดในเชิงธุรกิจ
ผลสำเร็จและความคุ้มค่า:
- มีมูลค่าการลงทุน 1,000,000บาท เกิดผลสัมฤทธิ 2,512,768 มีผล SROI 1.81 เท่า
- มิติทางเศรษฐกิจ 2,276,608 บาท โดยการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการเกิดการพัฒนาศักยภาพและความรู้ในการพัฒนาแผนธุรกิจ คิดเป็นมูลค่า 246,528 บาท
- มิติทางสังคม 236,160 บาท โดยการศึกษาพบว่า เกิดเครือข่ายนักออกแบบและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้เข้มแข็ง เกิดความร่วมมือรวมบูรณาการระหว่างหน่วยงานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หน่วยงานภาครัฐภายนอก และภาคเอกชน คิดเป็นมูลค่า 100,000 บาท บุคลากร/นักวิจัยเกิดความรู้ด้านการพัฒนาแผนธุรกิจ คิดเป็นมูลค่า 25,680 บาท เกิดความร่วมมือในการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับนักศึกษา/นักออกแบบ คิดเป็นมูลค่า 72,080 บาท
Impact Case 6
โครงการ : organic circle : นวัตกรรมการปลูกผักและเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ครบวงจร ณ ชุมชน เมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
เป้าหมายที่ 9: อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน
เป้าหมายที่ 15: การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก
ประเภทโครงการ: อาหารและการเกษตร (Food and Agriculture)
ที่มาและวัตถุประสงค์: สำหรับโครงการนี้เป็นการนำนวัตกรรม/ เทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการเกษตร ประกอบด้วย การใช้เทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์มาปรับปรุงดิน ควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช และลดการใช้สารเคมี การนำเทคโนโลยีเซนเซอร์พร้อมการควบคุมผ่านแอปพลิเคชันมาใช้ในระบบจัดการน้ำ และการบูรณาการระบบเกษตรอินทรียามาใช้ในการเลี้ยงแกะแบบอินทรีย์ เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนทรัพยากรและบูรณาการระหว่างการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ นำไปสู่การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน พัฒนาเกษตรกร และเป็นต้นแบบ/ แหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกรรายอื่น ๆ ต่อไป
ผลสำเร็จและความคุ้มค่า:
- มีมูลค่าการลงทุน 3,712,969.79 บาท เกิดผลสัมฤทธิ 15,399,769 บาท มีผล SROI 4.15 เท่า
- มิติทางเศรษฐกิจ 4,678,578 บาท โดยการศึกษาพบว่า เกิดการส่งเสริมการดำเนินงานเชิงภารกิจของหน่วยงาน (ด้านการทำเกษตร/ปศุสัตว์อินทรีย์, ด้านการทำเกษตรผสนผสาน) ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ความสำเร็จของโครงการ 695,042 บาท เกิดการพัฒนาพื้นที่และมีโอกาสทางการตลาดเพิ่มขึ้น 4,832 บาท ผลผลิตมีคุณภาพดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการทําเกษตร/ปศุสัตว์ 7,457 บาท เกิดทักษะ/องค์ความรู้/นวัตกรรมใหม่ 3,055,307 บาท เกิดงานวิจัย/นวัตกรรมใหม่จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 64,429 บาท เกิดทักษะ/องค์ความรู้/นวัตกรรมใหม่เพิ่มขึ้น 217,983 บาท เกิดงานวิจัย/นวัตกรรมใหม่จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 7,457 บาท ผลิตภัณฑ์มีมาตรฐานเพิ่มขึ้น (PGS) ลดต้นทุนการผลิต 621,239 บาท เกิดพื้นที่การเพาะปลูกในชุมชนที่ได้มาตรฐาน PGS เพิ่มขึ้น 4,832 บาท
- มิติทางสังคม 10,721,191 บาท โดยการศึกษาพบว่า การเจ็บป่วยลดลง สุขภาพดีขึ้น ค่าใช้จ่ายจากปัญหาสุขภาพลดลง 1,002,332 บาท เกษตรกร มีสุขภาพดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายที่สืบเนื่องจากปัญหาสุขภาพ 35,384 บาทชาวบ้านในชุมชนมีโอกาสได้บริโภคสินค้าที่ปลอดสารเพิ่มขึ้น 122,071 บาท เกิดความภาคภูมิใจ การลดความเครียด/ความกังวลในการทําเกษตร 117,503 บาท หน่วยงานเป็นที่ได้รับการไว้วางใจ ส่งเสริมความเชื่อใจและเป็นศูนย์กลางในการดำเนินงานของชุมชน 217,983 บาท เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชนเพิ่มขึ้น 8602088 ชาวบ้านเกิดความเป็นเจ้าของ/มีความภาคภูมิใจ รู้สึกมั่นคงมากขึ้น 236,453 บาท งบประมาณ/ทรัพยากร/การสันบสนุนเพิ่มขึ้น และได้รับองค์ความรู้ เพิ่มขึ้น 36,796 บาท สามารถนำไปต่อยอดโครงการการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ได้มากขึ้น 7,568 บาท เกิดความตระหนักรับรู้/การสื่อสารประชาสัมพันธ์ในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 196,185 บาท
Impact Case 7
โครงการ : ระบบสูบน้ำแบบขั้นบันไดพลังงานแสงอาทิตย์ ณ ชุมชนบ้านเมืองหลวง ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
เป้าหมายที่ 6: การจัดการน้ำและสุขาภิบาล
เป้าหมายที่ 7: พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้
เป้าหมายที่ 15: การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก
ประเภทโครงการ: เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular)
ที่มาและวัตถุประสงค์: เพื่อลดต้นทุนทางเกษตรกรรมใน ด้านพลังงาน และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการทำการเกษตรในพื้นที่ราบเชิงเขาในชุมชน โดยนำนวัตกรรม/ เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์มาผสมผสานกับระบบสูบน้ำ และออกแบบระบบให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยสูบน้ำจากแหล่งน้ำที่อยู่ต่ำกว่าพื้นที่ตั้งของชุมชนและอยู่ห่างไกลออกไปในลักษณะขั้นบันได เพื่อทดแทนระบบสูบน้ำเดิมที่ใช้พลังงานไฟฟ้าหรือน้ำมัน
ผลสำเร็จและความคุ้มค่า:
- มีมูลค่าการลงทุน 7,647,110 บาท เกิดผลสัมฤทธิ 15,697,199 มีผล SROI 2.05 เท่า
- มิติทางเศรษฐกิจ 5,958,805 บาท โดยการศึกษาพบว่า เกิดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการน้ำเพิ่มขึ้น รวม 204,613 บาท เกิดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการน้ำเพิ่มขึ้น รวม 110,719 บาทคุณภาพผลผลิต มูลค่าและรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น รวม 4,613,272 บาท เกิดการจ้างงานในการก่อสร้างระบบสูบน้ำเพิ่มขึ้น รวม 167,011 บาท ความเครียด/ความกังวลในในกรณีเครื่องชำรุดเสียหายลดลง รวม 1,479,845 บาท เกิดระบบสูบน้ำแบบขั้นบันไดพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชน รวม 5,041 บาท หน่วยงานเป็นที่รู้จัก ส่งเสริมความเชื่อใจเพิ่มขึ้น รวม 8,832 บาท เกิดการพัฒนาพื้นที่ และโอกาสทางการตลาดเพิ่มขึ้น รวม 4,933 บาท เกิดงานวิจัย/นวัตกรรมใหม่เพิ่มขึ้น รวม 7,457 บาท เกิดความตระหนักรับรู้/การสื่อสารประชาสัมพันธ์ในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น รวม 14,019 บาท เกิดงานวิจัย/นวัตกรรมใหม่เพิ่มขึ้น รวม 7,457 บาท เกิดภาคีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีต่าง ๆ เพิ่มขึ้น รวม 137,329 บาท เกิดภาคีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีต่าง ๆ เพิ่มขึ้น รวม 137,329 บาท
- มิติทางสังคม 5,958,805 บาท โดยการศึกษาพบว่า ลดความเครียด/ความกังวลในการจัดสรรน้ำในฤดูแล้ง รวม 45,309 บาท เกิดการรวมกลุ่มของชุมชนในการเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น รวม 525,665 บาท เกิดภาคีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีต่างๆ เพิ่มขึ้น รวม 137,329 บาท ลดภาระหนี้สิน ส่งผลให้เกิดความรู้สึกมั่นคงและความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ รวม 2,363,272 บาท เกิดทักษะและการพัฒนาการทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น รวม 277,305 บาท ความเข้มแข็งของกลุ่ม และการสนับสนุนในการทำเกษตร/ปศุสัตว์เพิ่มขึ้น รวม 2,005,949 บาท ลดความเจ็บป่วย สุขภาพดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายจากปัญหาสุขภาพ รวม 30,681 บาท เกิดภาคีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีต่างๆ เพิ่มขึ้น รวม 137,329 บาท เกิดภาคีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีต่างๆ เพิ่มขึ้น รวม 217,983 บาท เกิดภาคีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีต่างๆ เพิ่มขึ้น รวม 217,983 บาท
- มิติทางสิ่งแวดล้อม 2,840,537 บาท โดยการศึกษาพบว่า ลดต้นทุนการในการทำเกษตร รวม 1,018,765 บาท เกิดการขยายพื้นที่ในการปลูกข้าวโพดเพิ่มขึ้น รวม -18,792 บาท เกิดการเข้าถึงน้ำได้ดีขึ้นในฤดูแล้ง รวม 825,985 บาท ชุมชนลดการใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น รวม 1,014,579 บาท
Impact Case 8
โครงการ : โรงเรือนเพาะเลี้ยงหม่อนไหมชุมชนท่าเรือ
เป้าหมายที่ 8: การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เป้าหมายที่ 9: อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน
เป้าหมายที่ 12: แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
ประเภทโครงการ: อาหารและการเกษตร (Food and Agriculture)
ที่มาและวัตถุประสงค์: ปัญหาสำคัญของการเลี้ยงไหมของชาวบ้านและเอกชนเป็นเรื่องการควบคุมลมฟ้าอากาศไม่ได้และกระทบต่อตัวไหมเองอ่อนแอกระทบต่อกำลังผลิตที่น้อยกระทบต่อต้นทุนการผลิต และนอกจากจะกระทบต่อชาวบ้านผู้เลี้ยงหม่อนไหมแล้วยังกระทบภาคเอกชนผู้เลี้ยงไหมเช่นฟาร์มหม่อนไหม ดังนั้นหากสามารถพัฒนาระบบควบคุมอากาศที่มีประสิทธภาพได้จะเป็นการแก้ปัญหาทั้งด้านการผลิตและคุณภาพการผลิตไหมและลดต้นทุนได้เกือบทั้งระบบ โดยใช้นวัตกรรมมาสร้างโรงเรือนแบบปิดที่ควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นความเร็วลม พัฒนาประสิทธิภาพให้สามารถทำลมเย็นได้มากกว่าเดิมด้วยการประหยัดพลังงานที่ใกล้เคียงระบบเดิมด้วยการพัฒนาสร้างโรงเรือนและนำชุดระบบมาประกอบใช้กับโรงเรือนเพื่อเลี้ยงหม่อนไหมและติดตั้งระบบดูดอากาศถ่ายเทอากาศควบคุมการทำงานด้วยคอนโทรลเลอร์จอทัชสกรีน 4 นิ้ว ปรับตั้งค่าได้ เน้นใช้งานง่าย ปรับตั้งค่าได้ง่าย ซึ่งเป็นระบบโรงเรือนเลี้ยงไหมที่ควบคุมอุณหภูมิ
ผลสำเร็จและความคุ้มค่า:
- มีมูลค่าการลงทุน 1,630,750 บาท เกิดผลสัมฤทธิ 7,631,051 มีผล SROI 4.68 เท่า
- มิติทางเศรษฐกิจ 5,694,408 บาท โดยการศึกษาพบว่า กลุ่มฯ เกิดการพัฒนานวัตกรรมการผลิตและการเกษตรที่เพิ่มขึ้น รวม 1,833,043 บาท กลุ่มฯ เกิดเป็นสถานที่ต้นแบบ/โมเดลต้นแบบ รวม 1,110,935 บาท กลุ่มฯ เกิดการบริหารจัดการที่ดีขึ้น รวม 1,499,763 บาท คณะกรรมการ และสมาชิกเกิดองค์ความรู้หรือทักษะที่เพิ่มขึ้น รวม 181,939 บาท คณะกรรมการและสมาชิกเกิดความมั่นคงในอาชีพเดิมเพิ่มขึ้น รวม 150,570 บาท เกิดผลงาน/งานวิจัย หรือการต่อยอดองค์ความรู้/ผลงานที่เพิ่มขึ้น รวม 122,161 บาท นักวิจัยเกิดองค์ความรู้/ทักษะใหม่ที่เพิ่มขึ้น รวม 105,503 บาท เกิดโอกาสในการเข้าถึงงบประมาณ/ทรัพยากร/การสนับสนุนต่าง ๆ เพิ่มขึ้น รวม 77,739 บาท เกิดการขยายโอกาสทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ รวม 94,398 บาทองค์กรมีความน่าเชื่อถือ/มีผลการประเมินองค์กรที่ดีขึ้น รวม 169,807 บาท บุคลากรเกิดองค์ความรู้/ทักษะใหม่ที่เพิ่มขึ้น รวม 151,932 บาท เกิดโอกาสในการเข้าถึงงบประมาณ/ทรัพยากร/การสนับสนุนต่าง ๆ เพิ่มขึ้น รวม 196,618 บาท
- มิติทางสังคม 1,729,609 บาท โดยการศึกษาพบว่า กลุ่มฯ เกิดภาคีเครือข่ายและความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายเพิ่มขึ้น รวม 722,108 บาท กลุ่มฯ เป็นที่รู้จักและภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น รวม 388,827 บาท คณะกรรมการ และสมาชิกเกิดความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกดีขึ้น รวม 56,464 บาท คณะกรรมการ เกิดความภาคภูมิใจมากขึ้น รวม 31,369 บาท หน่วยงานกับชุมชนเกิดความสัมพันธ์ดีขึ้น รวม 61,081 บาท เกิดภาคีเครือข่ายอื่น ๆ ในการเป็นที่ปรึกษามากขึ้น รวม 44,422 บาท หน่วยงานเป็นที่รู้จัก ภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น รวม 33,317 บาท นักวิจัยเกิดความภาคภูมิใจในการพึ่งพาตนเองมากขึ้น รวม 16,658 บาท เกิดจากการดำเนินงานร่วมกับชุมชนเพิ่มขึ้น รวม 71,498 บาท เกิดภาคีเครือข่ายที่ร่วมมือกับหน่วยงานภาคีต่าง ๆ เพิ่มขึ้น รวม 125,121 บาท หน่วยงานเป็นที่รู้จัก ภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น รวม 98,309 บาท เกิดการส่งเสริมความไว้วางใจร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่มขึ้น รวม 53,623 บาท บุคลากรเกิดความตระหนักในการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในชุมชนเพิ่มขึ้น รวม 26,812 บาท
- มิติทางสิ่งแวดล้อม 7,631,051 บาท โดยการศึกษาพบว่า เกิดความตระหนักในการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในชุมชนเพิ่มขึ้น รวม 87,833 บาท เกิดการลดปริมาณการใช้สารเคมีทางการเกษตรมากขึ้น รวม 119,201 บาท 
Impact Case 9
โครงการ : ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบโดมร่วมกับการแผ่รังสีอินฟราเรดระยะไกลจากแผ่นเซรามิกสำหรับผลิตเครื่องดนตรีอีสาน
เป้าหมายที่ 7: พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้
เป้าหมายที่ 12: แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 13: การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ประเภทโครงการ: การลดปล่อยคาร์บอน/พลังงานสะอาด (Decarbonisation and Energy)
ที่มาและวัตถุประสงค์: วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านท่าเรือ พัฒนา “เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบโดมร่วมกับการแผ่รังสีอินฟราเรดระยะไกลจากแผ่นเซรามิกเพื่อใช้ในการผลิตเครื่องดนตรีอีสาน” เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการอบแห้ง ลดระยะเวลาในการอบแห้ง สามารถอบแห้งได้ในช่วงที่แสงแดดไม่เพียงพอและเวลากลางคืนได้ สามารถควบคุมอุณหภูมิที่ใช้ในการอบแห้งได้ทำให้คุณภาพของไม่ไผ่ที่อบแห้งมีคุณภาพ และยังสามารถนำวัตถุดิบอื่นๆ มาแปรรูปได้อีกด้วย
ผลสำเร็จและความคุ้มค่า:
- มีมูลค่าการลงทุน 603,250 บาท เกิดผลสัมฤทธิ 1,442,407 มีผล SROI 2.4 เท่า
- มิติทางเศรษฐกิจ 944,442 บาท โดยการศึกษาพบว่า กลุ่มฯ เกิดการพัฒนานวัตกรรมการผลิตและการเกษตรที่เพิ่มขึ้น รวม 98,812 บาท กลุ่มฯ เกิดเป็นสถานที่ต้นแบบ/โมเดลต้นแบบในการศึกษามากขึ้น รวม 38,926 บาท ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน/กระบวนการผลิตที่ดีขึ้น รวม 80,846 บาท คณะกรรมการ และสมาชิกเกิดองค์ความรู้หรือทักษะที่เพิ่มขึ้น รวม 56,464 บาท คณะกรรมการ และสมาชิกเกิดความมั่นคงในการประกอบอาชีพเดิมเพิ่มขึ้น รวม 28,232 บาท เกิดผลงาน/งานวิจัย หรือการต่อยอดองค์ความรู้/ผลงานที่เพิ่มขึ้น รวม 16,385 บาท นักวิจัยเกิดองค์ความรู้/ทักษะใหม่ที่เพิ่มขึ้น รวม 13,763 บาท เกิดโอกาสในการเข้าถึงงบประมาณ/ทรัพยากร/การสนับสนุนต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น รวม 11,797 บาท องค์กรมีความน่าเชื่อถือ/มีผลการประเมินองค์กรที่ดีขึ้น รวม 234,069 บาท บุคลากรเกิดองค์ความรู้/ทักษะใหม่ที่เพิ่มขึ้น รวม 168,530 บาท เกิดการต่อยอดการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ ที่เพิ่มขึ้น รวม 196,618 บาท
- มิติทางสังคม 460,514 บาท โดยการศึกษาพบว่า กลุ่มฯ เกิดภาคีเครือข่ายและความร่วมมือเพิ่มขึ้น รวม 59,886 บาท กลุ่มฯ เป็นที่รู้จัก ภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น รวม 20,960 บาท คณะกรรมการและสมาชิกเกิดการรวมกลุ่ม/ทำกิจกรรมร่วมกับสมาชิกมากขึ้น รวม 42,348 บาท คณะกรรมการ เกิดความภาคภูมิใจในการเป็นผู้นำในวิสาหกิจชุมชนฯ เพิ่มขึ้น รวม 14,116 บาท เกิดความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานและชุมชนดีขึ้น รวม 9,176 บาท เกิดภาคีเครือข่ายอื่นๆ ในการเป็นที่ปรึกษามากขึ้น รวม 7,209 บาท หน่วยงานเป็นที่รู้จัก ภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น รวม 4,588 บาท นักวิจัยเกิดความภาคภูมิใจจากการสร้างการพึ่งพาตนเองได้ของชุมชนมากขึ้น รวม 2,622 บาท เกิดจากการดำเนินงานร่วมกับชุมชนเพิ่มขึ้น รวม 131,079 บาท เกิดความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีต่าง ๆ เพิ่มขึ้น รวม 102,991 บาท หน่วยงานเป็นที่รู้จัก ภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น รวม 65,539 บาท
- มิติทางสิ่งแวดล้อม บุคลากรเกิดความตระหนักในการอนุรักษ์ธรรมชาติเพิ่มขึ้น 37,451 บาท
Impact Case 10
โครงการ : “E-San Live Streaming” แพลตฟอร์มถ่ายทอดสด การท่องเที่ยวชุมชนเสมือนจริง
เป้าหมายที่ 8: การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เป้าหมายที่ 9: อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน
ประเภทโครงการ: ระบบดิจิทัล (Digital)
ที่มาและวัตถุประสงค์: การพัฒนาระบบแพลตฟอร์มถ่ายทอดสด (Live Streaming) การท่องเที่ยวชุมชนเสมือนจริง (Virtual Reality: VR) จะประกอบด้วยการท่องเที่ยวแบบเสมือนจริงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แหล่งท่องเที่ยวชุมชน เทศกาลงานประเพณี ผลิตภัณฑ์ชุมชน ของชุมชนท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนมจริง โดยชุมชนสามารถเข้าเชื่อมต่อระบบเพื่อการถ่ายทอดสด (Live Streaming) ผ่าน Server ได้เอง
ผลสำเร็จและความคุ้มค่า:
- มีมูลค่าการลงทุน 2,327,000 บาท เกิดผลสัมฤทธิ 7,708,495 มีผล SROI 3.31 เท่า
- มิติทางเศรษฐกิจ 4,492,234 บาท โดยการศึกษาพบว่า กลุ่มฯ เกิดการพัฒนากระบวนการท่องเที่ยวและพัฒนาชุมชนเพิ่มขึ้น รวม 916,522 บาท กลุ่มฯ เกิดเป็นสถานที่ต้นแบบ/โมเดลต้นแบบมากขึ้น รวม 229,130 บาท คณะกรรมการและสมาชิกเกิดองค์ความรู้หรือทักษะที่เพิ่มขึ้น รวม 211,739 บาท คณะกรรมการ และสมาชิกเกิดความมั่นคงในการประกอบอาชีพเดิมเพิ่มขึ้น รวม 173,241 บาท เกิดผลงาน/งานวิจัย หรือการต่อยอดองค์ความรู้/ผลงานที่เพิ่มขึ้น รวม 417,488 บาท เกิดโอกาสในการเข้าถึงงบประมาณ/ทรัพยากร/การสนับสนุนต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น รวม 259,130 บาท เกิดการขยายโอกาสทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ มากขึ้น รวม 345,507 บาท ชุมชนเกิดองค์ความรู้หรือทักษะที่เพิ่มขึ้น รวม 76,377 บาท เข้าร่วมเกิดความภาคภูมิใจในการถ่ายทำคลิปและเผยแพร่คลิปมากขึ้น รวม 682,990 บาท องค์กรมีความน่าเชื่อถือ/มีผลการประเมินองค์กรที่ดีขึ้น รวม 527,765 บาท บุคลากรเกิดองค์ความรู้/ทักษะใหม่ที่เพิ่มขึ้น รวม 589,855 บาท เกิดโอกาสในการเข้าถึงงบประมาณ/ทรัพยากร/การสนับสนุน ต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นรวม 62,490 บาท
- มิติทางสังคม 3,123,126 บาท โดยการศึกษาพบว่า เกิดการเข้าถึงงบประมาณ/ทรัพยากร/ทุนสนับสนุนในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น รวม 687,391 บาท กลุ่มฯ เป็นที่รู้จักเพิ่ม ภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น รวม 458,261 บาท คณะกรรมการ และสมาชิกเกิดการรวมกลุ่ม/ทำกิจกรรมร่วมกับสมาชิกมากขึ้น รวม 128,327 บาท เกิดความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานและชุมชนดีขึ้น รวม 71,981 บาท เกิดภาคีเครือข่ายอื่น ๆ ในการเป็นที่ปรึกษามากขึ้น รวม 201,546 บาท หน่วยงานเป็นที่รู้จัก ภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น รวม 143,961 บาท เกิดความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างหน่วยงานและชุมชน รวม 434,630 บาท เกิดภาคีเครือข่ายอื่น ๆ และโครงการความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีต่าง ๆ เพิ่มขึ้น รวม 248,360 บาท หน่วยงานเป็นที่รู้จัก ภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น รวม 341,495 บาท เกิดการส่งเสริมความไว้วางใจ/เชื่อมั่นในการดำเนินงานร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่มขึ้น รวม 186,270 บาท เกิดการลดอัตราการย้ายถิ่นไปทำงานนอกพื้นที่ รวม 46,289 บาท เกิดจิตสำนัก/เป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ในวัฒนธรรมของท้องถิ่นเพิ่มขึ้น รวม 30,088 บาท ความเครียด/ความกังวล/ความเสี่ยงในการประกอบอาชีพลดลง รวม 16,201 บาท เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกที่ดีขึ้น รวม 44,914 บาท คณะกรรมการ เกิดความภาคภูมิใจในการเป็นผู้นำในวิสาหกิจชุมชนฯ รวม 83,412 บาท
- มิติทางสิ่งแวดล้อม บุคลากรเกิดความตระหนักในการอนุรักษ์ธรรมชาติในชุมชนเพิ่มขึ้น 93135 บาท
Impact Case 11
โครงการ : STI Business Incubation
เป้าหมายที่ 5: ความเท่าเทียมทางเพศ
เป้าหมายที่ 6: การจัดการน้ำและสุขาภิบาล
เป้าหมายที่ 7: พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้
เป้าหมายที่ 8: การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ประเภทโครงการ: อาหารและการเกษตร (Food and Agriculture)
ที่มาและวัตถุประสงค์:
ผลสำเร็จและความคุ้มค่า:
- มีมูลค่าการลงทุน 12,233,719 บาท เกิดผลสัมฤทธิ 32,193,552 มีผล SROI 2.63 เท่า
- มิติทางเศรษฐกิจ 16,800,038 บาท โดยการศึกษาพบว่า คู่ค้าหรือผู้จัดส่งวัตถุดิบเกิดรายได้จากการขายวัตถุดิบ, ผลผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มมากขึ้น รวม 694,082 บาท ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเกิดการเข้าถึงงบประมาณ/ทรัพยากร/เงินทุนในการพัฒนาวิสาหกิจ/ ผลิตภัณฑ์/สถานประกอบการที่เพิ่มขึ้น รวม 350,000 บาท เกิดการจ้างงานของคนภายในชุมชน/หรือกลุ่มที่เพิ่มมากขึ้น คิดเป็นมูลค่า รวม 1,497,391 บาท ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเกิดสินทรัพย์เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการผลิตที่เพิ่มมากขึ้น รวม 8,238,400 บาท ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเกิดองค์ความรู้/ทักษะใหม่ในการพัฒนาธุรกิจที่เพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่า รวม 1,295,620 บาท ผู้บริหาร/อาจารย์/พนักงานศูนย์ฯ เกิดการพัฒนาองค์ความรู้/ทักษะใหม่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์/นวัตกรรม/เทคโนโลยีใหม่ การบริหารจัดการโครงการ การตลาด การบริหารธุรกิจ คิดเป็นมูลค่า รวม 55,729 บาท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเกิดการส่งเสริมการดําเนินงานของหน่วยงาน ส่งผลให้เกิดผล สัมฤทธิ์ความสําเร็จ และเป้าหมายของหน่วยงาน นําไปสู่การต่อยอดองค์ความรู้ ผลงาน นําไปสู่การพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คิดเป็นมูลค่า รวม 1,322,061 บาท ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมาตรฐานและมีคุณภาพมากขึ้น นําไปสู่การจด สิทธิบัตร/มาตรฐานการรับรอง คิดเป็นมูลค่า รวม 321,470 บาทมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเกิดผลงาน/งานวิจัย/นวัตกรรมใหม่ หรือการต่อยอดองค์ ความรู้/ผลงานเพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่า รวม 1,247,826 บาท คู่ค้าหรือผู้จัดส่งวัตถุดิบเกิดการพัฒนาหรือต่อยอดกระบวนการผลิต/ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น คิดเป็นมูลค่า รวม 485,266 บาท ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจฯ เกิดการพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์บ่มเพาะฯ ส่งผลให้เกิด การพัฒนา/ขยายรูปแบบการให้บริการ คิดเป็นมูลค่า รวม 44,367 บาท
- มิติทางสังคม 15,393,514 บาท โดยการศึกษาพบว่า เกิดปัญหาทางด้านสังคมที่ลดลง/เพิ่มขึ้น เช่น ปัญหาการลักขโมย/ความ ปลอดภัยด้านทรัพย์สิน คิดเป็นมูลค่า รวม 13,221 บาทมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเกิดการส่งเสริมการดําเนินงานของหน่วยงาน ส่งผลให้เกิดผล สัมฤทธิ์ความสําเร็จ และเป้าหมายของหน่วยงาน คิดเป็นมูลค่า รวม 264,412 บาท ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจฯ เกิดการส่งเสริมการดําเนินงานของหน่วยงาน ส่งผลให้เกิดผล สัมฤทธิ์ความสําเร็จ และเป้าหมายของหน่วยงาน คิดเป็นมูลค่า รวม 79,324 บาท ผู้บริหาร/อาจารย์/พนักงานศูนย์ฯ เกิดความกังวลจากผลกระทบในการ บริหารจัดการเวลา/ความสําเร็จ/ผลลัพธ์/การแก้ไขปัญหาโครงการฯ คิดเป็นมูลค่า รวม 251,530 บาท การเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะกับศูนย์บ่มเพาะฯ สร้างความเชื่อมั่น ส่งผล ให้เกิดความมั่นใจในการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจ/ผู้ประกอบการ คิดเป็นมูลค่า รวม 204,572 บาท ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเกิดความภาคภูมิใจในการเป็นต้นแบบ/โมเดลนําร่อง/กรณีศึกษาธุรกิจที่ บรรลุผลสําเร็จของโครงการบ่มเพาะฯ ให้กับธุรกิจอื่น ๆ หรือภายใต้โครงการพี่สอนน้อง คิดเป็นมูลค่า รวม 111,203 บาท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเกิดการส่งเสริมการดําเนินงานของหน่วยงาน ส่งผลให้เกิดผล สัมฤทธิ์ความสําเร็จ และเป้าหมายของหน่วยงาน คิดเป็นมูลค่า รวม 264,412 บาท เกิดภาคีเครือข่ายและความร่วมมือเกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น ส่งผล ต่อการขยายโอกาสทางธุรกิจ/ขยายกลุ่มลูกค้า คิดเป็นมูลค่า รวม 7,956,971 บาท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเกิดการขยายโอกาส/ความร่วมมือในการดําเนินงานร่วมกับภาคี เครือข่าย คิดเป็นมูลค่า รวม 1,983,092 บาท ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจฯ เกิดการขยายโอกาส/ความร่วมมือในการดําเนินงานร่วมกับ ภาคีเครือข่าย คิดเป็นมูลค่ารวม 138,647 บาท ผู้บริหาร/อาจารย์/พนักงานศูนย์ฯ เกิดการดําเนินงานร่วมกับผู้ประกอบการ ในการเป็นพี่เลี้ยง/บริหารจัดการ/ให้คําปรึกษาแก่วิสาหกิจ/ผู้ประกอบการ ส่งผลให้ มีภาคีเครือข่าย นําไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีเพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่า รวม 464,412 บาท คู่ค้าหรือผู้จัดส่งวัตถุดิบเกิดความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มฯ หรือ ผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่า รวม 2,942,790 บาท ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเกิดการพัฒนาธุรกิจ/สินค้า/บริการมากขึ้น ทําให้เกิดการพัฒนา Supply Chain ระหว่างคู่ค้า/ชุมชน นําไปสู่ความสัมพันธ์ระหว่างคู่ค้าหรือชุมชนที่เพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่า รวม 269,428 บาท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเกิดการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น คิดเป็นมูลค่า รวม 396,618 บาท ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจฯ เป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดความเชื่อใจในการเป็นพี่เลี้ยง/ ให้คําปรึกษาวิสาหกิจ/ผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่า รวม 52,882 บาท
Impact Case 12
โครงการ : การพัฒนาผ้าทอเกาะยอโดยใช้เส้นใยสับปะรดและการย้อมสีธรรมชาติ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์หัตถกรรม
เป้าหมายที่ 1: ขจัดความยากจน
เป้าหมายที่ 2: ความหิวสาบสูญ
เป้าหมายที่ 4: การศึกษาที่เท่าเทียม
เป้าหมายที่ 8: การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ประเภทโครงการ: การพัฒนาสังคม (Social)
ที่มาและวัตถุประสงค์: โครงการพัฒนาผ้าทอเกาะยอโดยใช้เส้นใยสับปะรดและการย้อมสีธรรมชาติ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์หัตถกรรม โดยโครงการนี้มีแนวคิดที่ในการนำเส้นใยสับปะรด ที่เป็นวัสดุเหลือใช้ที่ทิ้งเปล่ามาเป็นวัตถุดิบในการทำเส้นใยและผ่านกระบวนการทอเป็นผ้าเพื่อนำมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอประเภทต่างๆ โดยมีแนวคิดมุ่งเน้นเรื่อง การใช้วัสดุจากธรรมชาติทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเส้นใยสับปะรดล้วนหรือเส้นใยผสมฝ้าย โดยการย้อมสีธรรมชาติ ทั้งนี้เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์จากเดิมที่ผู้ประกอบการ
ผลสำเร็จและความคุ้มค่า:
- มีมูลค่าการลงทุน 1,985,293 บาท เกิดผลสัมฤทธิ 4,102,022 มีผล SROI 2.07 เท่า
- มิติทางเศรษฐกิจ 658,226 บาท โดยการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดองค์ความรู้ในการแปรรูปลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม/เทคโนลียีในการแปรรูปเส้นใยสัปปะรด การตลาด และการบริหารจัดการ คิดเป็นมูลค่า รวม 22,560 บาท เกิดกิจกรรมการอบรม/ถ่ายทอดเทคโนโลยีเฉลี่ยรวม 4.15 ครั้ง คิดเป็นมูลค่า รวม 235,919 บาท เกิดกิจกรรมการแปรรูปใบสัปปะรดเป็นเส้นใยสัปปะรดเฉลี่ยรวม 7 ครั้ง คิดเป็นมูลค่า รวม 24,714 บาท ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดรายได้จากการแปรรูป รวม 108,008 บาท ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดทักษะในการย้อมสีผ้ากึ่งอัตโนมัติเพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่า รวม 22,414 บาท เกิดกิจกรรมการอบรม/ถ่ายทอดเทคโนโลยีเฉลี่ยรวม 4.15 ครั้ง คิดเป็นมูลค่า รวม 105,514 บาท มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เกิดการจัดสรรทำผลงานทางวิชาการ คิดเป็นมูลค่า รวม 4,783 บาท ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดทักษะด้านการตลาด คิดเป็นมูลค่า รวม 27,868 บาท เกิดการศึกษาดูงานที่เพิ่มขึ้น จำนวนเฉลี่ย 4 ครั้ง คิดเป็นมูลค่า รวม 103,314 บาท สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ประเทศไทย) เกิดการจัดสรรทำผลงานทางวิชาการ คิดเป็นมูลค่า รวม 3,132 บาท
- มิติทางสังคม 3,441,572 บาท โดยการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายในการรักษาจากสารพิษของสารเคมีทางการเกษตรลดลง 287,673 บาท ผู้ประกอบการหจก.รักษ์บ้านเราสงขลา เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ 5 ผลิตภัณฑ์ คิดเป็นมูลค่า รวม 9,904 บาท มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เกิดการเสริมสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือในระดับพื้นที่จังหวัด กลุ่มจังหวัดและระหว่างประเทศ คิดเป็นมูลค่า รวม 1,148,267 บาท ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดการมีส่วนร่วมในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ โดยมีระดับรายได้ที่เพิ่มขึ้น รวม 38,088 บาท ชุมชนฯ มีต้นทุนในการจัดการขยะที่ลดลง รวม 20,204 บาท เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มและเกิดความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ คิดเป็นมูลค่า รวม 109,444 บาท ผู้เข้าร่วมโครงการมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ลดลง จากการลดความเครียด/ความกังวล/เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในการใช้ชีวิต รวม 79,552 บาท เกิดกิจกรรมการย้อมสี/ทอผ้าเฉลี่ยรวม 8 ครั้ง คิดเป็นมูลค่า รวม 1,407,508 บาท ผู้เข้าร่วมโครงการมีค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีที่ลดลง รวม 81,360 บาท เกิดการศึกษาดูงานเพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่า รวม 184,150 บาท เกิดเครือข่ายพันธมิตร คิดเป็นมูลค่า รวม 139,818 บาท เกิดเครือข่ายพันธมิตร จำนวน 4 องค์กร คิดเป็นมูลค่า รวม 125,836 บาท การมีเครือข่ายพันธมิตรในระดับพื้นที่จังหวัด กลุ่มจังหวัด และระหว่างประเทศ คิดเป็นมูลค่า รวม 91,553 บาท เกิดสื่อประชาสัมพันธ์จากการได้รับรางวัล/กรณีศึกษาในโครงการ คิดเป็นมูลค่า รวม 5,888 บาท
- มิติทางสิ่งแวดล้อมชุมชนฯ มีสภาพแวดล้อมดีขึ้น เนื่องจากการลดการใช้สารเคมีในการผลิต คิดเป็นมูลค่า 2,224 บาท
Impact Case 13
โครงการ : การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชน อำเภอลานสกาสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงคุณภาพตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0
เป้าหมายที่ 8: การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เป้าหมายที่ 9: อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน
ประเภทโครงการ: การพัฒนาสังคม (Social)
ที่มาและวัตถุประสงค์: โครงการพัฒนาท่องเที่ยวชุมชน ณ ลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสำรวจและประเมินผลวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรค และจัดทำข้อเสนอแนะนำเสนอการพัฒนาโครงการฯ อย่างยั่งยืน ซี่งโครงการได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ ตลาดนัดชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว (Creative Market) สวนสร้างบุญลานสกา กิจกรรม Creative Market (งาน Creative Economy Tourism: Southern Chic เที่ยวใต้ สไตล์ เก๋ไก๋) กิจกรรมเสวนาภายใต้หัวข้อ “ท่องเที่ยวยุค 4.0” กิจกรรมเสวนา“ท่องเที่ยวชุมชนยุค 4.0” กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากคุณกิก ดนัย จารุจินดา นักแสดงช่อง 3 กิจกรรมแฟชั่นโชว์ การสร้างสรรค์คอลเลคชั่นผ้าบาติกภายใต้ธีม “Southern Chic” กิจกรรมเสวนาระบบสารสนเทศ โครงการได้มีการพัฒนานำแอพลิเคชั่นมาพัฒนาการท่องเที่ยวให้สามารถเข้าถึงระบบได้อย่างรวดเร็วง่ายได้ ผ่านระบบนำทาง ข้อมูลอัจฉริยะ เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง (Augmented Reality: AR) การต่อยอดสินค้าภายในงาน ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์กระจูดได้รับการต่อยอดให้จำหน่ายต่อภายในศูนย์การค้าฯ การเริ่มต้นธุรกิจใหม่ (Start Up/Incubation) ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
ผลสำเร็จและความคุ้มค่า:
- มีมูลค่าการลงทุน 6,873,912 บาท เกิดผลสัมฤทธิ 55,564,320 มีผล SROI 8.08 เท่า
- มิติทางเศรษฐกิจ 50,003,407 บาท โดยการศึกษาพบว่า เกิดกิจกรรมประชุมกลุ่มหารือเฉลี่ยรวม 4 ครั้ง คิดเป็นมูลค่า รวม 1,250,899 บาท เกิดกิจกรรมอบรมฝึกฝนทักษะ/ถ่ายทอดเทคโนโลยีเฉลี่ยรวม 5 ครั้ง คิดเป็นมูลค่า รวม 48,098,922 บาท มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เกิดทักษะในการท่องเที่ยวชุมชนที่เพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่า รวม 31,579 บาท สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวอำเภอลานสกา เกิดทักษะในการท่องเที่ยวชุมชนที่เพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่า รวม 151,814 บาท ผู้เข้าร่วมโครงการ เกิดการมีส่วนร่วมในการให้บริการท่องเที่ยว คิดเป็นมูลค่า รวม 388,546 บาทมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ การจัดสรรทำผลงานทางวิชาการ คิดเป็นมูลค่า รวม 12,371 บาท กลุ่มเยาวชนในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เกิดทักษะในการท่องเที่ยวชุมชนที่เพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่า รวม 9,023 บาท ผู้ประกอบการในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เกิดทักษะในการท่องเที่ยวชุมชนที่เพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่า รวม 9,023 บาท ชุมชนโดยรวม เกิดทักษะในการท่องเที่ยวชุมชนที่เพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่า รวม 9,023 บาท ชุมชนอื่นเข้ามาศึกษาดูงาน 6 ครั้งต่อปี คิดเป็นมูลค่า รวม 34,750 บาทสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (ประเทศไทย) เกิดการจัดสรรทำผลงานทางวิชาการ คิดเป็นมูลค่า รวม 7,457 บาท
- มิติทางสังคม 5,560,913 บาท โดยการศึกษาพบว่า เกิดการจัดตั้งสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวลานสกา คิดเป็นมูลค่า รวม 7,577 บาท มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เกิดเครือข่ายพันธมิตร จำนวน 8 องค์กร คิดเป็นมูลค่า รวม 438,006 บาท การเข้าร่วมการให้บริการท่องเที่ยว (ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก) เฉลี่ย 310 บาทต่อครั้ง จำนวน 10 ราย จำนวนเฉลี่ย 3 ครั้ง รวมมูลค่าเฉลี่ย 9,300 บาท 2. ระดับรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน รวม 295,071 บาท เกิดกิจกรรมการเปิดตลาดท่องเที่ยวเฉลี่ยรวม 3 ครั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 รวม 67,591 บาท อัตลักษณ์ชุมชนที่เพิ่มขึ้น (คิดจากโครงการส่งเสริมภาพลักษณ์และพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนภูไทบ้านห้วยหีบ) เฉลี่ย 6,521.73 บาท จำนวน 6 ครั้ง รวม 53,726 บาท การเข้าร่วมกิจกรรม (ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก) เฉลี่ย 310 บาทต่อครั้ง จำนวนเฉลี่ย 3 คน จำนวนเฉลี่ย 3 ครั้ง รวมมูลค่าเฉลี่ย 2,790 บาท, มูลค่าการดำเนินกิจกรรมร่วมกับครอบครัว เฉลี่ย 500 บาทต่อครั้ง จำนวนเฉลี่ย 3 ครั้ง รวม 5,890 บาท ความภาคภูมิใจที่เพิ่มขึ้น (เฉลี่ย 454.79 บาทต่อคนต่อครั้ง จำนวนเฉลี่ย 6 ครั้ง รวมมูลค่าเฉลี่ย 2,728.74 บาท, มูลค่าการดำเนินกิจกรรมร่วมกับชุมชน เฉลี่ย 310 บาทต่อครั้ง จำนวน 46 ราย จำนวนเฉลี่ย 15 ครั้ง รวม 310,844 บาท สื่อประชาสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากการได้รับรางวัล/กรณีศึกษาในโครงการ (คิดจากค่าใช้จ่ายการประชาสัมพันธ์ทาง Website เฉลี่ย 4,700 บาทต่อครั้ง จำนวนเฉลี่ย 6 ครั้ง) รวม 599,387 บาท การเข้าร่วมกิจกรรม (ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก) เฉลี่ย 320 บาทต่อคน จำนวน 200 ครัวเรือน จำนวนเฉลี่ย 6 ครั้ง, มูลค่าอัตลักษณ์ชุมชนที่เพิ่มขึ้น รวม 698,367 บาท สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวอำเภอลานสกาเกิดเครือข่ายพันธมิตร จำนวน 8 องค์กร คิดเป็นมูลค่า รวม 723,259 บาท กลุ่มเยาวชนในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกิดเครือข่ายพันธมิตร จำนวน 8 องค์กร คิดเป็นมูลค่า รวม 637,070 บาท ผู้ประกอบการในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกิดเครือข่ายพันธมิตร จำนวน 8 องค์กร คิดเป็นมูลค่ารวม 637,070 บาท ผู้ชุมชนโดยรวมเกิดเครือข่ายพันธมิตร จำนวน 8 องค์กร คิดเป็นมูลค่า รวม 637,070 บาท สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (ประเทศไทย) เครือข่ายพันธมิตร จำนวน 8 องค์กร คิดเป็นมูลค่า รวม 435,966 บาท เกิดสื่อประชาสัมพันธ์จากการได้รับรางวัล/กรณีศึกษาในโครงการ คิดเป็นมูลค่า รวม 14,019 บาท
Impact Case 14
โครงการ : PPEs Distribution
เป้าหมายที่ 3: มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
เป้าหมายที่ 5: ความเท่าเทียมทางเพศ
ประเภทโครงการ: การพัฒนาสังคม (Social)
ที่มาและวัตถุประสงค์: โครงการ PPEs Distribution ในปี พ.ศ. 2564 มุ่งเน้นการสนับสนุนเวชภัณฑ์ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในขณะปฏิบัติหน้าที่ในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 พร้อมกับการสร้างความตระหนักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและส่งเสริมแนวทางการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าที่ 12 (SDG12) โดยการสร้างความมีส่วนร่วมของสังคม ชุมชน ผู้บริโภค พนักงานองค์กรร่วมกับ 14 องค์กร ได้แก่ บริษัท อีซูซุเอ็นยิ่น แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท โยโกกาวา (ประเทศไทย) จำกัด, ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย, มิชลิน ประเทศไทย, ศูนย์การค้าแม็คโคร, ศูนย์การค้าบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์, ศูนย์การค้า เดอะ สตรีท รัชดา, คอนโดมิเนียม “S Condo”, หมู่บ้านทัสคานี, บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ จำกัด, บริษัท พี-ฟาร์ (ประเทศไทย) จำกัด, โรงพยาบาลเอกชล, บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) และบริษัท แทรชลัคกี้ จำกัด โดยมีการตั้งจุดรับบริจาคขวดพลาสติก PET ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลกว่า 13 พื้นที่ โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 26,500 คน ในการส่งเสริมการนำขวดพลาสติก PET มาสู่กระบวนการรีไซเคิลเป็นเส้นด้ายเพื่อไปทอเป็นผ้าโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล 100% เคลือบสารสะท้อนน้ำและป้องกันโคโรน่าไวรัส สู่การผลิตเป็นชุดอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย (PPE : Personal Protective Equipment) รีไซเคิลประเภท Coverall Level 2 แบบเสื้อคลุมแขนยาวกันน้ำชนิดใช้ซ้ำได้ซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จำนวน 8,000 ชุด และชุดเครื่องนอนโดยมีนวัตกรรมเคลือบป้องกันการแพร่กระจายบนผืนผ้า จำนวน 1,000 ชุด เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนเวชภัณฑ์ของบุคลากรทางการแพทย์ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ให้แก่ 32 โรงพยาบาลใน 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศบราซิลและประเทศอินเดีย ตลอดจนเพื่อสร้างความตระหนักและการส่งเสริมความเชื่อมั่นในวงการการแพทย์ ในการใช้ชุด PPE ชนิดใช้ซ้ำกว่า 30 ครั้งต่อชุด อันจะนำ “โครงการนำร่อง” และกรณีศึกษาที่นำไปสู่การสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของพลาสติกรีไซเคิล PET ตลอดจนลดปริมาณขยะจากการให้บริการทางการแพทย์
ผลสำเร็จและความคุ้มค่า:
- มีมูลค่าการลงทุน 23,943,877 บาท เกิดผลสัมฤทธิ 180,599,863 มีผล SROI 7.55 เท่า
- มิติทางเศรษฐกิจ 42,994,600 บาท โดยการศึกษาพบว่า ค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลที่ลดลงเฉลี่ยต่อปี รวม 42,219,600 บาท IVL เกิดรายได้จากการขายเส้นด้ายรีไซเคิลจาก PET 100% รวม 675,000 บาท IVL สามารถลดต้นทุนในการจัดซื้อขวดพลาสติก PET มาผลิตเป็นเส้นด้ายรีไซเคิลจาก PET 100% รวม 100,000 บาท
- มิติทางสังคม 131,301,339 บาท โดยการศึกษาพบว่า บุคลากรทางการแพทย์เกิดขวัญกำลังใจที่ดี นำไปสู่การปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คิดเป็นมูลค่ารวม 17,050,223 บาท บุคลากรทางการแพทย์เกิดความมั่นใจและยอมรับการใช้ชุด PPE แบบใส่ซ้ำได้ และ Bedding Set แบบป้องกันเชื้อโรค นำไปสู่การขยายโอกาสการใช้เวชภัณฑ์จาก Recycle Pet ในอนาคต คิดเป็นมูลค่า รวม 86,400,000 บาท เกิดการสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์จากการรีไซเคิลขวดพลาสติก PET 100% ในวงการทางการแพทย์ คิดเป็นมูลค่า รวม 8,761,690 บาท เกิดการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย Supply Chain ของ IVL ในการทำตลาด Recycle pet สู่ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ คิดเป็นมูลค่า รวม 278,572 บาท คนในชุมชนหรือพนักงานในองค์กร เกิดความภาคภูมิใจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ และมีส่วนร่วมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมกับองค์กร คิดเป็นมูลค่า รวม 136,800 บาท โรงพยาบาลเกิดการขยายโอกาสหรือการต่อยอดความร่วมมือ คิดเป็นมูลค่า รวม 18,674,054 บาท
- มิติทางสิ่งแวดล้อม 6,303,924 บาท โดยการศึกษาพบว่า โรงพยาบาลลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการจัดซื้อชุด PPE แบบใส่แล้วทิ้ง คิดเป็นมูลค่า รวม 12,386 บาท IVL เกิดการส่งเสริมธุรกิจ Recycle Pet และการทำเส้นใยที่มีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ (CO2) จากกระบวนการผลิตเส้นใยพลาสติกจากขวดพลาสติก PET คิดเป็นมูลค่า รวม 2,038 บาท พนักงานเกิดการสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสร้างคุณค่าต่อสังคมเพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่า รวม 569,500 บาท องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เกิดการสร้างความตระหนักถึงภาพลักษณ์หรือแบรนด์ที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม คิดเป็นมูลค่า รวม 720,000 บาท องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เกิดการสร้างความตระหนักถึงภาพลักษณ์หรือแบรนด์ที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม คิดเป็นมูลค่า รวม 5,000,000 บาท
Impact Case 15
โครงการ : การดําเนินการศึกษาและจัดทํากรอบแนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางสังคม และตัวชี้วัดที่เหมาะสมตามมาตรฐานท่ีสอดคล้องกับ บริบท ของรฟม.
เป้าหมายที่ 3: มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
เป้าหมายที่ 7: พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้
เป้าหมายที่ 8: การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เป้าหมายที่ 9: อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน
เป้าหมายที่ 11: เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน
เป้าหมายที่ 13: การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เป้าหมายที่ 16: สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก
เป้าหมายที่ 17: ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ประเภทโครงการ: การพัฒนาเมือง (Urban)
ที่มาและวัตถุประสงค์: การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะผู้้พัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าให้้ครอบคลุมและเชื่อมต่อกันเป็นโครงข่ายอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริิมณฑล รวมถึงเมืองหลักภูมิภาค เพื่อตอบโจทย์์การเดินทางของประชาชน ด้วยวิสัยทัศน์การเป็นองค์กรที่มีความเป็นเลิศด้านรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
ผลสำเร็จและความคุ้มค่า:
- มีมูลค่าการลงทุน 22,438,360,012.98 บาท เกิดผลสัมฤทธิ 238,131,230,122 มีผล SROI 10.61 เท่า
- มิติทางเศรษฐกิจ 226,736,133,792 บาท โดยการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บริการเกิดความสะดวกในการเข้าถึงบริการขนส่งสาธารณะ รวม 8,772,422,885 บาท ผู้ใช้บริการเกิดการเดินทางที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวม 9,372,466,915 บาท ผู้ใช้บริการมีความคุ้มค่าในการใช้บริการเพิ่มขึ้น รวม 9,187,284,768 บาท ผู้ใช้บริการมีโอกาสเข้าถึงอาชีพได้เพิ่มขึ้น รวม 607,292,995 บาท ผู้ใช้บริการมีโอกาสเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้เพิ่มขึ้น รวม 510,718,485 บาท ผู้ใช้บริการมีโอกาสเข้าถึงระบบการศึกษาได้เพิ่มขึ้น รวม 233,750,410 บาท ผู้ใช้บริการมีโอกาสเข้าถึงการท่องเที่ยวที่สะดวกสบายเพิ่มขึ้น รวม 1,023,676,224 บาท ผู้ใช้บริการมีโอกาสปฏิสัมพันธ์ในสังคมเพิ่มขึ้น รวม 691,326,470 บาท เกิดการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในสถานีเพิ่มขึ้น รวม 8,725,288,730 บาท ผู้พักอาศัยสะดวกในการเข้าถึงบริการขนส่งสาธารณะ รวม 215,849,053 บาท เกิดการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยตามสายทางรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น รวม 494,310,807 บาท ชุมชนมีความเจริญและการเปลี่ยนแปลงเป็นชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มูลค่าที่ดิน/มูลค่าที่พักอาศัยเพิ่มขึ้น รวม 135,188,355,750 บาท เพิ่มโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจ/ระดับรายได้ รวม 13,822,465,678 บาท ผู้ประกอบการมีโอกาสถูกสถานีรถไฟฟ้าบดบังอาคารลดลง รวม -7,008,121,652 บาท ผู้ประกอบการเกิดนวัตกรรม/ธุรกิจ/บริการใหม่ ๆ รวม 9,571,776,237 บาท ผู้ประกอบการเกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้น รวม 12,717,941,165 บาท ผู้ประกอบการเกิดศักยภาพในการให้บริการที่เพิ่มขึ้น รวม 13,811,621,610 บาท ผู้ประกอบการมีลูกค้า เครือข่ายที่เพิ่มขึ้น รวม 6,699,000 บาท เกิดการส่งเสริมการดำเนินงานเชิงภารกิจด้านการให้บริการรถไฟฟ้า รวม 4,425,460,945 บาท ระบบการให้บริการรถไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวม 3,982,914,851 บาท เกิดการขยายโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น รวม 6,699,000 บาท มีโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจ/ระดับรายได้มากขึ้น รวม 180,061,337 บาท มีโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจ/ระดับรายได้มากขึ้น รวม 56,000,000 บาท มีโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจ/ระดับรายได้มากขึ้น รวม 5,600,000 บาท เกิดการขยายโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น รวม 42,475,572 บาท เกิดการขยายโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น รวม 4,247,557 บาท มีโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจ/ระดับรายได้มากขึ้น รวม 79,590,000 บาท เกิดการขยายโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น รวม 7,959,000 บาท
- มิติทางสังคม 10,314,576,330 บาท โดยการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บริการเกิดความปลอดภัยในการเดินทางเพิ่มขึ้น รวม 9,459,540,262 บาท ผู้ใช้บริการเกิดการระบาดหรืออุบัติของโรคเพิ่มขึ้น รวม -2,577,929,933 บาท การจราจรบริเวณสถานีรถไฟแออัดลดลง รวม 297,575,106 บาท เกิดการพัฒนาชุมชนจากกิจกรรมเพื่อสังคม รวม 10,176,987 บาท ชุมชนเกิดความปลอดภัยในการเดินทางเพิ่มขึ้น รวม 114,680,107 บาท ชุมชนเกิดการระบาดหรืออุบัติของโรคเพิ่มขึ้น รวม -103,099,111 บาท เกิดการส่งเสริมภาพลักษณ์ของหน่วยงานมากขึ้น รวม 10,810,250 บาท เกิดการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนมากขึ้น รวม 5,000,000 บาท เกิดการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนมากขึ้น รวม 3,097,822,662 บาท
- มิติทางสิ่งแวดล้อม เกิดการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนมากขึ้น 1,080,520,000 บาท