เจ้าภาพร่วมจัด (CO-HOST)

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน โดยมีวิสัยทัศน์ “สานพลังการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไทย พลิกโฉมให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่า และพร้อมก้าวสู่อนาคต”
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่จัดตั้งขึ้น ไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือตอบโจทย์ในปัจจุบัน แต่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีบทบาทหลักในการวางรากฐานของประเทศสู่อนาคต โดยเชื่อว่า นโยบายและทิศทางในการพัฒนาประชาชนให้มีความพร้อมรับมือกับโลกในศตวรรษที่ 21 โดยเปิดโอกาสที่เท่าเทียมในการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ลดช่องว่างทางสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างความสุขของคนไทยทุกคน เป็นภารกิจสำคัญและท้าทายที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนในการพัฒนาประเทศ ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อก้าวไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศ เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สู่ความเป็น Thailand 4.0 สร้างความเชื่อมั่นและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวทีโลก ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อังกฤษ: Thailand Science Research and Innovation) หรือเรียกโดยย่อว่า สกสว. (อังกฤษ: TSRI) เป็นหน่วยงานอิสระภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีฐานะเป็นนิติบุคคล ทำหน้าที่รับผิดชอบงานด้านวิชาการและงานด้านธุรการของ คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ กสว. มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อน ระบบการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสหวิทยาการ เพื่อสร้างองค์ความรู้ พัฒนานโยบายสาธารณะ และสนับสนุน การนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในเชิงเศรษฐกิจและ สังคม เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืน
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ส่งเสริมบทบาทของมหาวิทยาลัยในด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม การอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องดินและภูมิปัญญาไทย และการส่งเสริมการกิฬา รวมทั้งกิจกรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทสตรี สันติภาพ และสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในชาติและในประชาคมโลกด้วย ทปอ. ชี้แนะเชิงนโยบายแก่รัฐบาลและชี้นำชุมชนและสังคม ในการแก้ไขปัญหาพัฒนาและสร้างภูมิคุ้มกันแก่ชุมชนและสังคมเพื่อการพัฒนาประเทศ อย่างยังยินด้วยองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยเพื่อมุ่งสู่การพึงพาตนเองบนฐานวัฒนธรรมไทยและด้วยสัมพันธภาพทีดีกับนานาประเทศอย่างมีศักดิศรี
ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) ร่วมกันของกลุ่ม มรภ.ทั้ง 38 แห่ง ดำเนินยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 4 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1.ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น 2.ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาครู 3.ยุทธศาสตร์การยกระดับ คุณภาพการศึกษา และ 4.ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริหารจัดการ ตามพันธกิจ 4 ประการ ได้แก่ การสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทะนุบํารุงศิลปะวัฒนธรรม
• ราชภัฎพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม 3 มิติ มหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละแห่งได้มีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้ทันเหตุการณ์ปัจจุบัน ด้วยการนำเรื่องการปฏิรูปการศึกษามาร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม 3 มิติไปพร้อมกัน คือ 1) เศรษฐกิจชีวภาพ ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม 2) เศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นการใช้เทคโนโลยีนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และ 3) เศรษฐกิจสีเขียวควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อม
• ปรับหลักสูตร sandbox สนองนโยบายอว. เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาทำงานและเรียนไปด้วย ที่สำคัญยังได้วุฒิการศึกษาด้วย นอกจากนี้ยังได้หารือและติดตามผลการดำเนินงานมูลนิธิคุรุอุปถัมภ์ และโครงการปฏิรูปการศึกษาในรูปแบบสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน เพื่อรองรับความต้องการของแรงงาน
ที่ประชุมคณะกรรมการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มทร.) เพื่อประโยชน์ในความร่วมมือด้านวิชาการและการใช้ทรัพยากรร่วมกันของมหาวิทยาลัยเสนอนโยบายและแผนพัฒนาเกี่ยวกับการจัดการศึกษา การร่วมมือด้านวิชาการและการใช้ทรัพยากรร่วมกันของมหาวิทยาลัยในการปฏิบัติภารกิจ การศึกษาต่อด้านวิชาชีพเฉพาะทางระดับปริญญา รวมทั้งการกำหนดแนวทางในการแสวงหาความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งกับชุมชน องค์กรเอกชนและองค์กรปกครองท้องถิ่น
เครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืน (SUN Thailand) เป็นเวทีสำคัญสำหรับการกำหนดแนวนโยบายเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน การแลกเปลี่ยน เรียนรู้ประสบการณ์การดำเนินงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงการกำหนดมาตรฐานการชี้วัดความเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน อันจะเป็นส่วนสำคัญของการยกระดับมหาวิทยาลัยภายในประเทศ และการสร้างความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศ ที่สอดคล้องเชื่อมโยงต่อบริบทการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับนานาชาติ นำสู่การเป็นต้นแบบสำคัญของภาคส่วนภายในสังคมของประเทศที่สามารถใช้เป็นต้นแบบเพื่อการขยายผลการดำเนินงานสู่ภาคส่วนอื่นได้ต่อไปในอนาคต
สมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม (Association for University Social Engagement Thailand : EnT) เป็นศูนย์กลางประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับหน่วยงานต่างๆ ในสังคมและนานาชาติ เพื่อร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมได้รับประโยชน์ และเกิดผลกระทบที่ดีต่อสังคม ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดระบบการบริหารจัดการที่เข้มแข็งในมหาวิทยาลัย ในการขับเคลื่อนพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมและเกิดการบูรณาการของทุกพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยในการทำงานเพื่อสังคม เพื่อส่งเสริมการพัฒนากำลังคนในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายนอกที่มีอุดมการ ความรู้ และทักษะในการทำงานวิชาการเพื่อสังคมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand หรือ UNGCNT) ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อธันวาคม 2561 โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้งในไทย 15 บริษัท เราเป็นหนึ่งในเครือข่ายท้องถิ่น (Local Network) ลำดับที่ 70 ของโครงการสำคัญในระดับโลกขององค์การสหประชาชาติ UN Global Compact เครือข่ายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนี้
ภายในปี 2573 เราต้องการส่งต่อกระแสการทำธุรกิจทั่วโลกอย่างยั่งยืน ในกลุ่มบริษัทและผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อสร้างสรรค์โลกที่ดีกว่า ในแบบที่พวกเราทุกคนต้องการ และสนับสนุนภาคเอกชนให้ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ ที่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนและเป้าหมายสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง 17 ประการ ภายในปี 2573 โดยมียุทธศาสตร์ 5 ข้อ ได้แก่ 1) การวางเป้าหมายให้ความรู้ และ ให้การตระหนักรู้ (Awareness) 2) การยกย่องบุคคล ที่ทำงานด้านความยั่งยืน เพื่อเป็นตัวอย่างสร้างแรงจูงใจ (Empowerment) 3) การผสานความร่วมมือองค์กรต่าง ๆ (Market Engagement) 4) การใช้เทคโนโลยี หรือการร่วมสร้างนวัตกรรม (Apply Technology and Innovation) และ 5 ) ผู้นำองค์กร และผู้นำรุ่นใหม่ (Leaders)